อัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา สู่ สปาระดับ World Class

สำนักงานสาธารณสุข จ. เชียงใหม่ ได้จัดให้มีการประกวดรางวัลอัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา รางวัลนี้เป็นรางวัลที่มีความสำคัญในการสั่นสะเทือนวงการสปาไทยล้านนาเป็นอย่างมาก จะพูดว่าเป็นคุณูปการเลยก็ว่าได้ จริงแล้วไม่ใช่แค่วงการสปาที่ได้รับประโยชน์แต่เป็นทุกภาคส่วนเลย เริ่มตั้งแต่ตัวสปาเองที่ทำให้สปาล้านนามีความโดดเด่น มีอัตลักษณ์ มีพื้นที่ยืนในในวงการสปาโลก โดยในยุคต้นที่เรารู้จักสปากันนั้นเราจะรู้จักแต่สปาตะวันตก เช่น นวดสวีดิส ซาวน่าฟินแลน นวดอโรม่าออย มีแช่น้ำนมอย่างครีโอพัตรา สปาบาหลี

คุณชวนันท์ครั้งที่เป็นนายกสมาคมไทยล้านนาสปาในรอบแรกนั้นท่านก็พยายามนำเอาการย่ำขางขึ้นมาเป็นการจุดประกาย ในช่วงแรกคนก็เริ่มรู้จักสปาล้านนา จนถึงยุคปัจจุบันทางภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและให้การสนับสนุน จนตอนนี้เรามีอัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา ซึ่งมีความโดดเด่นสวยงาม มีอัตลักษณ์ครบทุกด้านรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสตามเกณฑ์ของทางสาธารณสุข สปาไทยล้านนาก็สามารถที่จะแสดงจุดยืนบนเวทีโลกเป็นสปาระดับ World Class ได้อย่างสง่างาม 

อีกภาคส่วนที่ได้รับการฟื้นคืนชีพขึ้นมาคือการบำบัดรักษาของแพทย์พื้นบ้านล้านนา ซึ่งก่อนหน้านี้ลมหายใจรวยละรินเต็มที ในกำหนดเกณฑ์ประเมินด้านการสัมผัสข้อหนึ่งให้มีการนวดแบบอัตลักษณ์ล้านนา ทั้งทางภาคการศึกษาตั้งแต่ระดับอุดมศึกษาไปจนถึงวิชาชีพ ก็หันมาให้ความสำคัญให้ความสนใจแพทย์พื้นบ้านล้านนา เพื่อค้นหาการบำบัดรักษาที่เป็นของดั่งเดิมของพื้นถิ่น ทำให้การแพทย์พื้นบ้านล้านได้รับการยอมรับและเป็นที่สนใจทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ มีการเรียนสืบต่อและพัฒนากลายเป็นแพทย์ทางเลือกทางออกของหลายคนที่เคยสิ้นหวังจากการรักษา

ทางด้านวัฒนธรรม ส่วนใหญ่จะเน้นกฎเกณฑ์ในด้านการตกแต่งภายทั้งภายนอกและภายใน เครื่องมือ เครื่องแต่งกาย สิ่งเหล่านี้แตกแขนงได้อีกหลายทางช่างฝีมือศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องเขิน เครื่องไม้ เครื่องเงินช่างดุล ช่างปัก ภูมิปัญญาเล่านี้มีการสืบต่อและทำให้คนมีรายได้ 

ทางด้านเสียงถึงว่าเป็นศาสตร์ทางด้านสุนทรีบ้านเมืองที่มีดนตรีเป็นของตนเอง ถือว่าเป็นชนที่มีอารยะธรรม ดนตรีล้านนาถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลาย ของชนเผ่าแต่ที่น่าแปลกใจคือ เมื่อใครได้ยินก็จะรู้ได้เลยว่าเป็นเพลงทางภาคเหนือ

อีกสิ่งหนึ่งที่เกิดการสืบค้นและศึกษาคือ เรื่องกลิ่น เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เราจึงเน้นไปทางพืชหอม ทำให้เกิดการวิจัยและส่งเสริมให้มีการปลูกพืชหอมโดยปริยาย โดยมีคณะเภสัช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานวิจัยพืชหอม เช่นประยงค์ ว่านสาวหลงเพื่อใช้ในสปาและที่กำลังทำวิจัย พืชหอมที่สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ภาคเหนือยังมีอีกเป็นจำนวนมาก

สุดท้ายคือเรื่องรส นับก็เป็นอีกหนึ่งสัมผัสที่ช่วงนี้ทางสมาคมไทยล้านนาสปาได้ ทำแคมเปญ 12 เดือน 12 ผลไม้ แน่นอนประโยชน์ตกอยู่กับผู้บริโภคเต็มๆ เพราะปกติแล้วการรับประทานพืชผัก ไม้ ตามฤดูกาลจะทำให้เราได้คุณค่าสูงสุดของพืชผลไม้นั้นๆ และนอกจากจะใช้เสิร์ฟเป็นของว่างแล้ว แต่ละสปายังนำมาสร้างสรรค์มาเป็นทรีทเม้นท์อีกด้วย ผลพลอยได้ก็คือเกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ สร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชนอีกด้วย

หากใครได้มีโอกาสมาเชียงใหม่ อย่าลืมที่จะแวะใช้บริการไทยล้านนาสปา ไม่เพียงท่านจะได้รับการดูแลทั้งทางรูป รส กลิ่น เสียง เพื่อปรับสมดุลร่างกายเท่านั้น ท่านจะได้สัมผัสกับความเป็นล้านนาอย่างแท้จริงในทุกมิติ

SUPPORT