ศักดิ์ศรีของการแพทย์พื้นบ้านล้านนา

การตั้งถิ่นฐาน ในภูมิภาคอาคเนย์นี้ ตามหลักฐาน ในทางภาคเหนือเรา ที่แม่ฮ่องสอนพบว่ามีการอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถึง 30,000 กว่าปีมาแล้ว ที่พบเป็นโครงกระดูก มนุษย์ก็มีอายุเก่าแก่ถึง 13,000 ปี มีแหล่งโบราณคดีถึง 80 แหล่ง*1 ที่ เชียงใหม่ ที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง ทั้งยังพบโครงกระดูกมนุษย์ในยุคสัมฤทธิ์ มีอายุระหว่าง 2,500–3,500 ปีก่อนคริสตกาล*2 ที่ลำปางพบหลักฐานเป็นกระดูกของมนุษย์โฮโมอีเรกตัสที่มีอายุราว 500,000 ปี ซึ่งถูกเรียกกันว่า "มนุษย์เกาะคา"*3 และที่น่าสนใจคือที่สุดคือที่จังหวัดลำพูน ชุมชนโบราณบ้านวังไฮเป็นชุมชนในยุคโลหะ(Metal Age) ซึ่งใช้เหล็กเป็นเครื่องมือ (Iron Tools)และใช้สำริดเป็นเครื่องประดับ (Bronze Ornaments) เมื่อประมาณ 2800-3000 ปีมาแล้ว การพบเครื่องมือหินร่วมอยู่ด้วย แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดของกลุ่มชนที่ต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนามาจนเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยหริภุญไชยในที่สุด*4 แน่นอน หนึ่งในภูมิปัญญาการตั้งถิ่นฐาน จะต้องมีการรักษาโรคอยู่ด้วย ภูมิปัญญาในการรักษาและบำบัดผ่านการทดลองถูกผิด ผ่านการผสานวัฒนธรรมอื่นที่ผ่านเข้ามาไม่ว่าจะจากการค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การตกเป็นเมืองขึ้น มีการแลกเปลี่ยนถ่ายเทเทคนิคและองค์ความรู้ในการรักษา จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ที่ทำให้เกิดการตกผลึกภูมิปัญญาการรักษาบำบัดอย่างล้านนา สืบถ่ายพัฒนาต่อยอดกันมารุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบันแม้ไม่ได้มีการระบุเป็นหลักฐาน มีการบันทึกกันอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าแท้จริงแล้วที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ก็ไม่สำคัญเท่ากับ ปัจจุบันนี้แพทย์พื้นบ้านล้านนาของเรายังเป็นทางออกและเป็นที่พึ่งให้กับคนได้ ยิ่งในสภาวะปัจจุบันไม่ใช่แต่เป็นทางออกให้กับคนในพื้นที่หรือคนในประเทศเท่านั้นคนทั่วโลกก็ต่างก็ต้องหาทางออกเนื่องจากการรักษาโรงของแพทย์แผ่นปัจจุบันเขาบอกว่ารักษาไม่หายต้องกินยาคุมไปตลอดชีวิต และเมื่อกินยาในปริมาณมาและยาวนาน ตับก็ทนไม่ไหวเกิดปัญหาใหม่กับตับอีก แม้กระทั้งทางองค์การอานามัยโลกได้เสนอการส่งเสริม ยุทธศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิม

ยุทธศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมขององค์การอนามัยโลก แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ

  1. สร้างพื้นฐานความรู้เพื่อเอื้อให้สามารถจัดการกับการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์เสริม
  2. สร้างความเข้มแข็งในการประกันคุณภาพ ความปลอดภัย การใช้อย่างเหมาะสม และประสิทธิผล
  3. ส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal health coverage) ด้วยการบูรณาการ*5 และทางอนามัยโลกยังได้กำหนดนิยาม ความหมายของคำว่า สุขภาพ มิได้หมายความเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงสุขภาพสังคม และสุขภาพจิตวิญญาณอีกด้วย*6

เป็นที่น่าภาคภูมิใจที่เอกลักษณ์ของการบำบัดการแพทย์พื้นบ้านอย่างล้านนามีการดูแล ครบทั้ง4ข้อตามคำนิยามเรื่องสุขภาพดีขององค์การอนามัยโลก

"พิธีกรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับการรักษาอย่างล้านนา" พ่อหมออินสม สิทธิตัน หมอไทยดีเด่นแห่งชาติได้กล่าวว่า"การแพทย์พื้นบ้านมันเรื่องของการมีพิธีกรรมบำบัด เข้ามาร่วมด้วยอย่างบางทีถ้าอยู่ไม่สบายก็เอาพระมาสวดสืบชะตาราหูให้อยู่เย็นเป็นสุข ผูกข้อไม้ข้อมือสู่ขวัญ บายศรี นี้เป็นพิธีกรรม ที่คนในครอบครัวมาร่วมกันทำให้ มีเรื่องของความเชื่อ มีเรื่องของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วค่อยมีการบำบัด มีเช็คแหก มีตอกเส้น มีนวด เข้าเฝือก (กวากซุย) ต่อกระดูก ถูกพิษร้อน ดับพิษร้อน" จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การรักษาแพทย์พื้นบ้านล้านนานั้นไม่ได้รักษาแค่อาการเจ็บภายนอกยังเป็นการให้กำลังใจแกคนป่วยอีกด้วย แล้วตอนที่ทำการรักษาแบบพื้นเกิบทุกวิธี หมอพื้นบ้านจะอยู่ทำการรักษาอยู่ตลอดในระยะเวลาการรักษา ทำให้หมอและคนไข้ เพิ่มใกล้ชิดคนไข้ก็มีความมั่นใจและมีความหวังที่จะหาย และที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่สูง คนท้องถิ่นเข้าสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง และยิ่งในทางพื้นที่ภาคเหนือการรักษาแบบพื้นบ้านมีสถานภาพที่น่าชื้นใจเป็นอย่างมาก เพราะได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากทางภาครัฐโดยเฉพาะสาธารณะสุข ได้ผลักดันการใช้การรักษาแบบพื้นบ้านทั้งทางตรงและทางอ้อม ในโรงพยาบาลและสถานบริการหลายแห่งเลือกใช้ศาสตร์การบำบัดล้านนาเป็นแพทย์ทางเลือกกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น และอย่างเช่นการผลักดันให้สปาได้นำเอาการบำบัดอย่างล้านนานำไปเป็นรางวัลอัตลักษณ์ล้านนาซึ่ง โครงการนี้นับเป็นการส่งเสริมและสืบสานการบำบัดอย่างล้านนาที่ แยบคายได้ประโยชน์ในทุกภาคส่วนทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เแก่ การบำบัดแบบล้านนาอีกด้วย ทางสปาก็ได้นำศาสตร์ต่างๆของล้านนานำมาประยุคใช้ต่อยอดภูมิปัญญานำมาใช้ในสปาสร้างอัตลักษณ์ให้กับวงการสปาล้านนา ประกาศศักดิ์ศรีศาสตร์การบำบัดอย่างล้านนาให้เป็นที่รู้จักกับคนทั่วโลกสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติอีกด้วย

*1 (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของแม่ฮ่องสอน รัศมี ชูทรงเดช ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)
*2 (อุทยานแห่งชาติออบหลวง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี )
*3 (จังหวัดลำปาง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
*4 (http://krupraneebp.blogspot.com/2010/03/blog-post.html)
*5 (28 เมษายน 2559 เรื่อง รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “การปฏิรูปการแพทย์แผนไทยและระบบยาสมุนไพรแห่งชาติพร้อมร่างพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….” จากการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 9/2558)
*6 (สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลก สมัยที่ 134 ระหว่างวันที่ 20 – 25 มกราคม 2557 ณ สํานักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส)

SUPPORT